REIC สถิติปี 60 ประเมินยอดโอนต่ำ

REIC สถิติปี 60

REIC สถิติปี 60

REIC สถิติปี 60 การโอนอสังหาฯ น้อยกว่าค่าเฉลี่ย 5 ปีย้อนหลัง

                REIC (ศูนย์ข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ ธนาคารอาคารสงเคราะห์) หรือ ศขอ. สรุปภาพรวมตลาดที่อยู่อาศัยไตรมาส 2/2560 มีการชะลอตัวของจำนวนหน่วยทั้งในด้านอุปทานและอุปสงค์ แต่ที่อยู่อาศัยเปิดตัวใหม่มีจำนวน ตลอดจนมูลค่าและราคาเฉลี่ยต่อหน่วยเพิ่มขึ้น

 

Supply ใหม่ใหญ่+แพง

              “ดร.วิชัย วิรัตกพันธุ์” รักษาการ ผู้อำนวยการ ศขอ. ระบุว่า โครงการที่อยู่อาศัยเปิดขายใหม่ในกรุงเทพฯ-ปริมณฑล ไตรมาส 2/60 มี 73 โครงการ หน่วยในผังรวม 28,051 หน่วย เพิ่มขึ้น 52.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่มี 97 โครงการ 18,421 หน่วย โดยมีมูลค่าโครงการรวม 106,073 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 61.9% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2559 ซึ่งมีมูลค่ารวม 65,530 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าโครงการเปิดขายใหม่ในปีนี้ เป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่กว่า และราคาต่อหน่วยสูงกว่าในช่วงเดียวกันของปีก่อน

                แบ่งเป็น บ้านจัดสรร จำนวน 40 โครงการ 11,371 หน่วย มูลค่ารวม 43,937 ล้านบาท จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้น 17.0% มูลค่าโครงการเพิ่มขึ้น 21.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559 ที่เปิดขาย 72 โครงการ 9,717 หน่วย มูลค่ารวม 36,230 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 33 โครงการ 10,180 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 89.5% เพิ่มขึ้น 71.8%

               ส่วนโครงการอาคารชุดมี 33 โครงการ 16,680 หน่วย มูลค่ารวม 62,011 ล้านบาท จำนวนหน่วยเพิ่มขึ้น 91.6% และมูลค่าเพิ่มขึ้นถึง 111.6% จากช่วงเดียวกันของปี 2559 ซึ่งมี 25 โครงการ 8,704 หน่วย มูลค่า 29,300 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ 14 โครงการ 7,477 หน่วย สัดส่วน 88.5% เพิ่มขึ้น 20.3% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2559

              ทั้งนี้ ภาพรวมไตรมาส 2/60 บริษัทจดทะเบียนเปิดขายรวม 55 โครงการ 23,163 หน่วย คิดเป็นสัดส่วน 82.4% ของหน่วยเปิดขายใหม่ทั้งหมด เพิ่มขึ้น 90.8% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนที่มีสถิติเปิดขาย 41 โครงการ 12,138 หน่วย หน่วยจดทะเบียน -12%

              สำหรับแนวโน้มโครงการเปิดขายใหม่เขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลปีนี้ คาดว่ามีหน่วยรวม 108,709 หน่วย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 2.9% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 97,900-119,700 หน่วย

               ขณะเดียวกัน “ที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนใหม่” พื้นที่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล 5 จังหวัด (นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นครปฐม) มีจำนวนรวม 27,151 หน่วย เพิ่มขึ้น 40.2% เทียบกับไตรมาส 2/59 มีจำนวน 19,366 หน่วยแบ่งเป็น ห้องชุดมากที่สุด 15,805 หน่วย คิดเป็น 58.2% รองลงมาเป็นบ้านเดี่ยว 6,727 หน่วย คิดเป็น 24.8% ทาวน์เฮาส์ 3,180 หน่วย คิดเป็น 11.7% อาคารพาณิชย์พักอาศัย 885 หน่วย คิดเป็น 3.3% และบ้านแฝด 554 หน่วย คิดเป็น 2.0%

                แนวโน้มที่อยู่อาศัยสร้างเสร็จจดทะเบียนใหม่กรุงเทพฯ-ปริมณฑล ปี 2560 คาดว่าอยู่ที่ 111,300 หน่วย ลดลงจากปีก่อน 12.0% โดยมีช่วงคาดการณ์ 100,200-122,500 หน่วย

REIC สถิติ

REIC สถิติปี 60

คาดโอน 140,000-170,000 หน่วย

                สถิติการโอนกรรมสิทธิ์ไตรมาส 2/60 มีจำนวน 39,597 หน่วย มูลค่ารวม 103,560 ล้านบาท จำนวนหน่วยลดลง 25.3% และมูลค่าลดลง 16.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วที่มี 53,030 หน่วย มูลค่า 123,766 ล้านบาท เป็นผลจากมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ในช่วงเดือนเมษายน 2559 เป็นเดือนสุดท้ายของมาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมการโอนกรรมสิทธิ์ ทำให้มีการเร่งการโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยจำนวนมาก

                 ทั้งนี้ ไตรมาส 2/60 มีการโอนอาคารชุดมากที่สุด 19,600 หน่วย คิดเป็น 49.5% รองลงมา ทาวน์เฮาส์ 11,980 หน่วย คิดเป็น 30.3% บ้านเดี่ยว 5,174 หน่วย คิดเป็น 13.1% บ้านแฝด 1,472 หน่วย คิดเป็น 3.7% และอาคารพาณิชย์พักอาศัย 1,371 หน่วย คิดเป็น 3.5% …โดยในส่วนของบ้านใหม่ หรือ บ้านที่โอนจากนิติบุคคล 25,151 หน่วย และโอนบ้านมือสอง หรือบ้านที่โอนจากบุคคลธรรมดา 14,446 หน่วย ทำให้สัดส่วนหน่วยโอนบ้านใหม่ต่อบ้านมือสองเท่ากับ 64 : 36

                แนวโน้มยอดโอนกรรมสิทธิ์ที่อยู่อาศัยในกรุงเทพฯ-ปริมณฑลปีนี้ คาดว่าอยู่ที่ 154,500 หน่วย ลดลงจากปีที่แล้ว 11.9% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 139,000-170,000 หน่วย (ดูกราฟประกอบ) มีมูลค่าอยู่ที่ 416,000 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 6.3% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 374,500-457,650 ล้านบาท

 

ไร้มาตรการรัฐ-สินเชื่อก็ร่วง

               สินเชื่อบุคคลปล่อยใหม่ทั้งระบบทั่วประเทศไตรมาส 2/60 มีมูลค่า 147,491 ล้านบาท ลดลง 4.3% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีมูลค่า 154,171 ล้านบาท ซึ่งรับอานิสงส์มาตรการลดหย่อนค่าธรรมเนียมโอนและจดจำนอง ในขณะที่ปีนี้ไม่มีมาตรการรัฐเข้ามาเป็นตัวช่วยแต่อย่างใด ..ส่วนแนวโน้มสินเชื่อบุคคลปล่อยใหม่ทั้งระบบทั่วประเทศปีนี้ ประเมินอยู่ที่ 566,300 ล้านบาท ลดลงจากปีที่แล้ว 3.4% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ 558,000-602,700 ล้านบาท

               สินเชื่อที่อยู่อาศัยบุคคลทั่วไปคงค้าง ณ ไตรมาส 2/60 มีมูลค่า 3,391,428 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2559…สำหรับแนวโน้มสินเชื่อบุคคลทั่วไปทั้งระบบทั่วประเทศปีนี้ คาดว่าจะมีมูลค่า 3,441,100 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.5% โดยมีช่วงคาดการณ์อยู่ที่ประมาณ 3,425,500-3,464,500 ล้านบาท

 

ภาพ : news.mthai.com          /     ที่มา : REIC

Leave a Reply