ปั้นมืออาชีพ ป้อนระบบรางรถไฟฟ้า รองรับความต้องการ

ปั้นมืออาชีพ

ปั้นมืออาชีพ ป้อนระบบรางรถไฟฟ้า

ปั้นมืออาชีพ ป้อนระบบรางรถไฟฟ้า รองรับความต้องการกว่า 4 หมื่นราย

         นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า บีทีเอสได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชและบริษัทชั้นนำต่างๆเพื่อผลิต นักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีระบบรางในหลักสูตรอนุปริญญา โดยเตรียมเปิดศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอสย่านหมอชิตที่คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท เป็นสถานที่ฝึกการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาทั้งหมด

         ดร.พิจิตต รัตตกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวเสริมว่า ความต้องการวิศวกรและระดับอาชีวะด้านระบบรางมีมากถึง 4 หมื่นคน แม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานเร่งผลิตป้อนตลาดแต่ก็ยังต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน ด้าน ดร.พิทยา ชินะจิตพันธุ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เมื่อสภาวิชาการของมหาวิทยาลัยเสนอสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรเรียบร้อย แล้วก็จะเร่งเปิดรับนักศึกษาได้ทันทีคาดว่าประมาณเดือนสิงหาคมนี้รองรับได้ รุ่นละประมาณ 40-50 คน

         เอสผนึกม.นวมินทร์ฯ ปั้นมืออาชีพ ด้านเทคโนโลยีระบบรางป้อนรถไฟฟ้ากทม. “พิจิตต” อดีตผู้ว่าฯกทม.เผยความต้องการมืออาชีพด้านระบบรางทั้งประเทศมากกว่า 4 หมื่นราย เตรียมเปิดฝึกอบรม 4 หลักสูตรหลักด้านระบบรางรุ่นละ 40 ราย ดึงสจล.-เคที-บอมบาร์ดิเอร์และเอ็มเอ็มอาร์เอเชียร่วมผลักดัน

        นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า บีทีเอสได้ร่วมกับมหาวิทยาลัยนวมินทราธิราชและบริษัทชั้นนำต่างๆเพื่อผลิตนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีระบบรางในหลักสูตรอนุปริญญา โดยเตรียมเปิดศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าบีทีเอสย่านหมอชิตที่คิดเป็นมูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท เป็นสถานที่ฝึกการเรียนรู้ให้กับนักศึกษาทั้งหมด นอกจากนั้นยังมีแผนเปิดใช้ศูนย์จอดแล้วจรในเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสและเส้นทางอื่นๆที่บีทีเอสจะได้รับสิทธิ์เข้าไปบริหารจัดการโครงการเป็นแหล่งเรียนรู้อีกด้วย ซึ่งมีสถานีจอดแล้วจรที่คูคตและบางปิ้งของรถไฟฟ้าสายสีเขียวเป็นศูนย์ฝึกอบรม

        “ปัจจุบันบุคลากรด้านระบบรางยังเป็นที่ต้องการอีกมากในประเทศไทย ผู้ที่ผ่านการฝึกอบรมสามารถเข้าไปทำงานด้านระบบรางให้กับหน่วยงานต่างๆได้ทันทีไม่ได้จำกัดเฉพาะที่บีทีเอสเท่านั้น และที่ผ่านมาบริษัทได้ส่งผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรางไปให้ความรู้กับสถาบันการศึกษาต่างๆ”

        ดร.พิจิตต รัตตกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช กล่าวเสริมว่า ความต้องการวิศวกรและระดับอาชีวะด้านระบบรางมีมากถึง 4 หมื่นคน แม้ว่าจะมีหลายหน่วยงานเร่งผลิตป้อนตลาดแต่ก็ยังต้องใช้ระยะเวลาอีกนาน สำหรับโครงการดังกล่าวนี้เฉพาะตลาดระบบรางภายใต้การบริหารจัดการของกทม.ก็ยังไม่เพียงพอในระยะสั้นจึงเร่งพัฒนาระยะกลางและระยะยาวให้สอดคล้องกันไปโดยอาศัยความร่วมมือจากพันธมิตรทั้งภายในและต่างประเทศเข้ามาร่วมกันพัฒนาและเร่งขับเคลื่อนให้สามารถเกิดผลเป็นรูปธรรมโดยเร็วต่อไป

        ด้าน ดร.พิทยา ชินะจิตพันธุ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนเมืองแห่งกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า เมื่อสภาวิชาการของมหาวิทยาลัยเสนอสภามหาวิทยาลัยอนุมัติหลักสูตรเรียบร้อยแล้วก็จะเร่งเปิดรับนักศึกษาได้ทันทีคาดว่าประมาณเดือนสิงหาคมนี้รองรับได้รุ่นละประมาณ 40-50 คน โดยในเบื้องต้นนั้นอยากเปิดโอกาสให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาของกรุงเทพมหานครที่ขาดโอกาสเข้าเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้เข้ามาเรียนรู้หลักสูตรดังกล่าว ซึ่งเป็นหลักสูตรผู้ช่วยวิศวกรโดยเฉพาะ

       “โครงการนี้มหาวิทยาลัยได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่งจากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง(สจล.)จะใช้สถานีที่ของ สจล.เป็นหลักก่อนที่จะกระจายออกฝึกงานจริงในสถานที่ต่างๆ ที่ได้ร่วมกับพันธมิตรหลายรายทั้งในและต่างประเทศ 4-5 พันธมิตรถือว่ามีผู้เชี่ยวชาญที่สามารถให้ความรู้กับนักศึกษาได้อย่างลึกซึ้ง เช่น บีทีเอส เคที บอมบาร์ดิเอร์ และเอ็มเอ็มอาร์เอเชีย โดยปีแรกเปิดรับสมัครผู้สนใจจำนวน 80 ราย หากได้รับความสนใจในปีต่อไปก็จะขยายรับเพิ่มเติมได้อีก

        ทั้งนี้จะใช้เวลาเรียนหลักสูตรละ 30 เดือน ค่าใช้จ่ายประมาณปีการศึกษาละ 1 หมื่นบาทต่อคนอีกทั้งยังจะมีทุนการศึกษาให้ความช่วยเหลืออีกจำนวนหนึ่ง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายจากการไปศึกษาดูงานตามบริษัทต่างๆที่จะต้องจ่ายเป็นค่าเบี้ยเลี้ยงให้กับนักศึกษาดังกล่าวจึงถือว่ามีรายได้ตั้งแต่ยังไม่สำเร็จการศึกษา ประการสำคัญเฉพาะรถไฟฟ้าที่กทม.มีแผนดำเนินการทั้งรถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้าสายสีเทา สายสีทองหรือระบบไลต์เรลเชื่อมบางนา-สุวรรณภูมิก็มีความต้องการบุคลากรด้านระบบรางอีกจำนวนมาก เฉพาะผู้ช่วยวิศวกรพบว่ามีความต้องการกว่า 9 พันคน สำหรับหลักสูตรดังกล่าวนี้พัฒนามาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2558 โดยยึดโยงจากต่างประเทศด้วยความร่วมมือจากพันธมิตร

แหล่งที่มา: www.thansettakij.com

Leave a Reply