การลงทุนโลจิสติกส์ SCG ทุ่ม 5 หมื่นล้าน

การลงทุนโลจิสติกส์ SCG

การลงทุนโลจิสติกส์ SCG

การลงทุนโลจิสติกส์ SCG ซีอีโอใหม่ ทุ่ม 5 หมื่นล้าน เพิ่มการลงทุนโลจิสติกส์ เตรียมบุกหนัก 4 ประเทศ

       จากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เอสซีจีเผยผลประกอบการธุรกิจซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้างลดลง ลุ้นรัฐเร่งลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ดันตลาดปี”59 ฟื้นตัว เชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของตลาดอาเซียน เดินหน้าลงทุน 5 หมื่นล้านซื้อกิจการ

       นายรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส กรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ เครือเอสซีจี เปิดเผยว่า ผลประกอบการของเอสซีจีซิเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ในปี 2558 มีรายได้จากการขาย 178,988 ล้านบาท ลดลง 3% จากปี 2557 รับผลกระทบจากภาวะตลาดภายในประเทศที่ฟื้นตัวช้า โดยมีกำไร 10,250 ล้านบาท ลดลง 22% จากปี 2557

เพิ่ม การลงทุนโลจิสติกส์ SCG

      ทั้งนี้ ในภาพรวมความต้องการซีเมนต์ของตลาดในประเทศปีที่ผ่านมามีอัตราเติบโตเป็นศูนย์ แม้ว่าไตรมาส 4/58 มีแนวโน้มดีขึ้น 2% เมื่อเทียบกับไตรมาส 4/57

      ขณะที่ประเมินปีนี้มีปัจจัยบวกจากแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของรัฐบาล สิ่งที่ต้องติดตามใกล้ชิดคือการลงทุนที่เป็นรูปธรรม เพราะจะมีผลฟื้นความเชื่อมั่นของนักลงทุนและผู้บริโภค

      สำหรับแผนลงทุน 5 ปี (2559-2563) ตั้งเป้าลงทุนรวม 2-2.5 แสนล้านบาท ในปีนี้จะใช้งบฯลงทุน 5 หมื่นล้านบาท ทั้งซื้อกิจการเพิ่มเติมและลงทุนในอาเซียน เพื่อรองรับนโยบายขึ้นเป็นผู้นำในตลาดอาเซียนภายในปี 2560 โดยเฉพาะธุรกิจซิเมนต์-วัสดุก่อสร้าง ปีนี้จะเห็นทั้งการลงทุนที่มีความต่อเนื่องและทำอย่างรวดเร็วมากขึ้น กลยุทธ์การทำธุรกิจที่จะทำเพิ่มเติมให้มากขึ้นก็คือการจัดหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ชนิดเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน จะมีการรวบรวมและนำเสนอขายให้เป็นแพ็กเกจเดียวกัน เช่น ปูนซิเมนต์มีหลายประเภท จากเดิมอาจจะขายแยก แต่หลังจากนี้ไปจะมีปูนหลากประเภท ไม่ว่าจะเป็นคอนกรีตผสมเสร็จ วัสดุก่อสร้างอื่น ๆ ให้เป็นทางเลือกของผู้บริโภคมากขึ้น

      การลงทุนโลจิสติกส์ SCG กลยุทธ์สำคัญยังรวมถึงการพัฒนาช่องทางจัดจำหน่าย ยกตัวอย่าง ตลาดในเมียนมามีอัตราเติบโตของความต้องการใช้ซีเมนต์และวัสดุก่อสร้างสูงไม่ต่ำกว่า 10% ในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา จึงมีศักยภาพที่น่าสนใจ ดังนั้น เอสซีจีไม่ได้มองแค่การเข้าไปตั้งโรงงานปูนเพียงอย่างเดียว แต่จะต้องลงทุนด้านเครือข่าย โลจิสติกส์ ให้มากขึ้น

บุกหนัก 4 ประเทศ CLMV

     นายรุ่งโรจน์กล่าวด้วยว่า ธุรกิจของเอสซีจีในอาเซียนยังคงเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ โดยปี 2558 ได้ทำการเปิดโรงงานปูนในอินโดนีเซีย กำลังผลิต 1.8 ล้านตัน/ปี, ในกัมพูชา โรงงานปูนแห่งแรกกำลังผลิต 1.1 ล้านตัน อยู่ระหว่างพิจารณาลงทุนแห่งที่ 2 อีก 0.9 ล้านตัน, ในเมียนมา กำลังจะเดินเครื่องผลิตปูน 1.8 ล้านตัน/ปี และในลาว อยู่ระหว่างก่อสร้างโรงปูน กำลังผลิต 1.8 ล้านตัน/ปี คาดว่าจะเริ่มผลิตได้กลางปี 2560

    “เอสซีจีมีความเชื่อมั่นในศักยภาพการเติบโตของตลาดอาเซียน ล่าสุด ได้มีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีเป็นทางการเมื่อ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา แนวโน้มน่าจะมีความคึกคัก จุดโฟกัสตอนนี้ทุกคนจับตามองการค้าการลงทุนในกลุ่มประเทศ CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมา เวียดนาม) ถือเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของภูมิภาค”

     โดยตลาด CLMV นอกจากเอสซีจีเข้าไปลงทุนตั้งโรงงานผลิตปูนซิเมนต์ที่กัมพูชา เมียนมา และ สปป.ลาวแล้ว ในเวียดนาม บริษัทเพิ่งประกาศการซื้อหุ้นบริษัท Prime Group เพิ่มเติมอีก 15% จากเดิมถือหุ้น 85% ทำให้เอสซีจีเป็นผู้ถือหุ้น 100% ซึ่งคาดหวังว่าจะเป็นแหล่งรายได้ เนื่องจาก Prime Group เป็นผู้ผลิตกระเบื้องเซรามิกรายใหญ่ในเวียดนาม มียอดขาย 8,300 ล้านบาทในปีที่แล้ว โดยมีแหล่งผลิตอยู่ทางภาคเหนือและภาคกลางของประเทศ

ชี้ราคาวัสดุไม่ลดลง

      นายรุ่งโรจน์กล่าวตอนท้ายว่าในด้านปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวังในปีนี้จะมาจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนซึ่งมีผลในเรื่องของการแข่งขันในตลาดโลก กับปัญหาภัยแล้งที่มีผลกระทบต่อการผลิตในภาคเกษตร ปัจจุบันก็มีปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำอยู่แล้ว ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่รัฐบาลจำเป็นจะต้องมีนโยบายแก้ไขปัญหาทั้งระยะสั้นและระยะยาว

      ด้านภาวะราคาน้ำมันที่ลดลงในปัจจุบันมองว่าอาจจะส่งผลต่อต้นทุนในการผลิตวัสดุก่อสร้างแต่ไม่มากเนื่องจากน้ำมันเป็นต้นทุนส่วนน้อย เพราะฉะนั้น ราคาวัสดุก่อสร้างจะลดลงหรือไม่นั้นในภาพรวมยังมีปัจจัยอื่น ๆ เป็นองค์ประกอบด้วย ขึ้นกับกลไกตลาดถ้ามีการแข่งขันสูง มีความต้องการใช้สูงกว่ากำลังการผลิตราคาย่อมลดลง เป็นต้น

ที่มา:  ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

Leave a Reply