อสังหาฯคาดแรงงานภาค ” ก่อสร้าง ” รับผลกระทบโควิดกว่า 7 หมื่นคน

ก่อสร้าง

“อสังหาฯ” แนะรัฐจ้างงานแทนการแจกเงินดีกว่า ทั้งดับไฟ ขุดบ่อ ซ่อมถนน เพื่อให้คนเห็นคุณค่าของเงิน เผยคาดอุตฯอสังหาฯ – ก่อสร้าง มีแรงงานได้รับผลกระทบประมาณ 7 หมื่นคน แนะรัฐเตรียมมาตรการรับมือหลังเหตุการณ์สงบด้วย

นายอธิป พีชานนท์ ประธานคณะกรรมการสมาคมการค้ากลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ออกแบบและการก่อสร้าง สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวถึงกรณีที่รัฐบาลจะออกพ.ร.ก.กู้เงิน 1.68 ล้านล้านบาท เพื่อสู้วิกฤตโควิด-19 นั้นว่า ไม่สามารถให้ความเห็นได้ เนื่องจากไม่รู้ว่ารัฐบาลมีความจำเป็นต้องใช้เงินมากน้อยแค่ไหนอย่างไรก็ตาม แต่การใช้เงินนั้นอยากให้ใช้หรือช่วยคนที่มีปัญหาหรือได้รับผลกระทบจริงๆ และให้ได้ประโยชน์สูงสุด วิธีการหนึ่งคือการให้คนมีรายได้อย่างมีคุณค่า คือรัฐควรจะมีการจ้างงานหรือหางานให้คนที่ตกงานเหล่านี้มีงานทำแทนการแจกเงิน

“อย่างกรณีการลงทะเบียนรับเงิน 5,000 บาทซึ่งลงทะเบียนเกือบถึง 20 ล้านคนนั้น มองว่าอาจมีคนที่ไม่มีคุณสมบัติเข้ามาลงทะเบียนด้วย แม้ว่ากระทรวงการคลังจะเปิดให้มีการลงทะเบียนถอนรายชื่อแล้วก็เชื่อว่าคงไม่มาถอนกันทั้งหมด เพราะบางคนไม่รู้ หรือบางคนก็ไม่อยากทำ เพราะไม่รุู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง”นายอธิปกล่าว

นายอธิปกล่าวว่าสำหรับงานที่รัฐบาลควรจัดจ้างคือ การขุดบ่อขุดสระในหมู่บ้านที่ตัวเองพำนักอยู่ เพื่อรองรับน้ำในช่วงฤดูฝน โดยดำเนินการแบบเหมาจ่ายไม่ต้องผ่านจังหวัด หรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) คือการจ้างงานตรงด้วยการเปิดให้ลงทะเบียนและรัฐแจกจ่ายงานว่าแต่ละหมูบ้านควรมีบ่อหรือสระขนาดไหน แล้วจ่ายเงินเหมาเป็นก้อนเพื่อให้ไปจ่ายค่าแรงในกลุ่มคนงานที่ร่วมกันทำงาน ซึ่งรัฐและประชาชนก็จะได้ประโยชน์ร่วมกันไม่ใช่แค่คนใดคนหนึ่ง นอกจากงานขุดสระขุดบ่อแล้ว ยังมีงานซ่อมถนนในหมู่บ้านด้วยโดยให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านนี้ลงไปดูแล หรือแม้แต่การระดมคนไปดับไฟป่าที่เป็นปัญหาอยู่ในภาคเหนือในขณะนี้ หรือนำแรงงานไปแปรรูปผลไม้ซึ่งกำลังออกอยู่ในขณะนี้แล้วนำมาให้รัฐบาลขายให้

“การแจกเงินโดยวิธีการจ้างงานจะทำให้คนเห็นคุณค่าของเงินและรัฐก็จะได้ประโยชน์จากการใช้จ่ายเงินงบประมาณ เพราะแจกเงินฟรีๆอย่างที่ทำอยู่นั้น เมื่อผู้ได้รับเงินใช้จ่ายหมดแล้วก็ยังต้องแบมือขอเงินต่อและดีไม่ดีก็อาจจะกลับมาด่ารัฐบาลอีกว่าแจกน้อยเกินไป โดยมองว่ารัฐบาลควรจะจ้างให้ประชาชนตกปลาเพื่อหาปลามากินเองไม่ใช่แจกปลา พอปลาหมดประชาชนก็อดอยากอีก แต่หากให้ตกปลาก็สามารถช่วยเหลือตัวเองได้”นายอธิปกล่าว

นอกจากนี้รัฐต้องเตรียมพร้อมในการชี้นำการลงทุนหลังจากวิกฤตผ่านพ้นไปแล้วด้วย โดยเร่งนำโครงการลงทุนของภาครัฐออกมาโดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับภาคเอกชนเพื่อเดินหน้าลงทุนต่อไป อย่าปล่อยให้เป็นไปตามยถากรรม โดยรัฐจะต้องหามาตรการมาจูงใจมาให้เอกชนตัดสินใจลงทุนด้วย

นายอธิปกล่าวว่า ส่วนภาคแรงงานนั้นในส่วนของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์นั้น ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะรักษาแรงงานและพนักงานเอาไว้ เพราะแรงงานฝีมือเหล่านี้จะต้องใช้เวลาฝึกฝนค่อนข้างนาน จึงต้องประคองให้ยาวนานที่สุด โดยคาดว่าหากมีแรงงานได้รับผลกระทบคงไม่มีคือ หากเป็นพนังงานที่นั่งทำงานในสำนักงานเชืื่อว่าน่าจะมีผู้ได้รับผลกระทบประมาณ 2,000 คน แต่หากเป็นแรงงานจากผู้รับเหมาตรงน่าจะได้รับผลกระทบประมาณ 10,000 คน แต่หากรวมอุตสาหกรรมเกี่ยวเนื่องซึ่งมีทั้งแรงงานต่างด้าวและผุู้รับเหมาช่วงไปด้วยเชื่อว่าน่าจะได้รับกระทบประมาณ 70,000 คน

“โดยในเรื่องแรงงานนั้นได้มีการนำเสนอกระทรวงแรงงานไปแล้วว่า อยากให้มีการผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าวที่มีบัตรอยู่แล้วเมื่อเหตุการณ์คลี่คลายก็ให้ผ่อนผันให้กลับมาทำงานได้ โดยไม่ต้องไปขอใบอนุญาตใหม่ และไม่ต้องไปเสียค่าธรรมเนียมใหม่ภายในปี 63 เพราะหากไม่ดำเนินการลักษณะนี้เชื่อว่าแรงงานที่กลับไปยังประเทศของตัวเองแล้วอาจจะกลับมาไม่หมด ซึ่งจะมีปัญหากับภาคธุรกิจได้ เพราะหากได้คนใหม่มาแทนคนเดิมก็ต้องใช้เวลาในการฝึกค่อนข้างนาน”นายอธิปกล่าว (

ขอขอบคุณประชาชาติ

Leave a Reply