แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรซึ่งสัดส่วนประชากรวัยเด็กและวัยแรงงานที่จะปรับลดลง ขณะที่สัดส่วนประชากรสูงอายุเพิ่มขึ้นและก้าวสู่สังคม สูงวัย ในอนาคต โดยจะส่งผลต่อโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งในด้านบวกและด้านลบ ส่งผลให้ทุกภาคส่วนไม่ว่ากระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงการคลัง และหน่วยงานเกี่ยวข้องร่วมสร้างความมั่นคงกับเศรษฐกิจของประเทศภายใต้การเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว เพื่อดำเนินนโยบายเท่าทันกับสถานการณ์ดังกล่าว

อย่างไรก็ดี สำหรับโครงการจิณณ์ เวลบีอิ้ง เมืองสำหรับคนวัยเกษียณ บนพื้นที่ 140 ไร่ ย่านรังสิต คอนโดมิเนียมรูปแบบโลว์ไรส์ของบริษัท ปัจจุบันค่อนข้างประสบความสำเร็จมีกลุ่มผู้ สูงวัย ให้ความสนใจ จองโครงการเฟสแรก และเตรียมโอนกรรมสิทธิ์กว่า 100 หน่วย ซึ่ง ภายในเน้นพื้นที่สีเขียว และจัดโซนรองรับ 3 เจนเนอเรชัน อีกทั้งยังมีสถานพยาบาลรองรับ แบบครบวงจร
แม้ปัจจุบันเริ่มมีบริษัทพัฒนาที่ดินให้ความสนใจตลาด สูงวัย มากขึ้น เช่น บริษัท แมกโนเลีย ควอลิตี้ ดีเวล็อปเม้นต์ คอร์เปอเรชั่น (MQDC) โดย โครงการ จิณณ์ เวลบีอิ้ง ของกลุ่มโรงพยาบาล ธนบุรี เฮลท์แคร์ แต่เชื่อว่ายังมีช่องว่างในอีก มหาศาล
โดยเฉพาะด้านที่อยู่อาศัย เทคโนโลยี สถานพยาบาล ธุรกิจดูแลสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันมี 3 แสนคน ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมีเงินออม 7 แสนบาทขึ้นไป
นอกจากการทำธุรกิจรองรับผู้สูงวัย ที่มีรายได้สูงมีการออมแล้ว บริษัทยังเข้าไปช่วยกลุ่มสูงวัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย ด้วยการทำโครงการบ้านประชารัฐ หรือบ้านล้านหลัง ตามนโยบายรัฐบาล ซึ่งปัจจุบันรับโครงการมาพัฒนาหลายหมื่นหน่วย บนที่ดิน ตนเองที่สะสมไว้ ในราคา ไม่เกิน 7 แสนบาทต่อหน่วย ขณะเดียวกัน ได้เสนอรัฐให้สนับสนุนวงเงินให้กับคนจน 1 ล้านบาทต่อราย ซึ่งเป็นที่อยู่อาศัย 6-7 แสนบาท ส่วนอีก 3-4 แสนบาท เป็นการซื้อประกันการออม ในยามเข้าสู่วัยชรา ทั้งนี้ ผู้สูงอายุเป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องเตรียมความพร้อมดังนั้นจึงเป็นช่องทางธุรกิจ เช่น บริษัทได้มีบุคลากรแพทย์และพยาบาลออกไปดูแลผู้ป่วยติดเตียงถึงที่พักอาศัย โดยเสียค่าใช้จ่ายเพียงหัวละ 200 บาท หาก ให้เขาเดินทางมายังโรงพยาบาลจะเสียค่าใช้จ่ายไม่ตํ่ากว่า 1,500 บาท ทั้งค่าเดินทางและค่ารักษาพยาบาล อีกทั้งลูกหลานต้องเสียเวลาเดินทาง ซึ่งเป็นอีกช่องทางธุรกิจที่เอกชนจะนำไปช่วยแบ่งเบาภาครัฐ
มากขึ้น จึงเป็นเรื่องที่ น่าสนใจ เพราะช่วยลดค่าใช้จ่าย ลดทอนเวลา และเพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้รับบริการ ทั้งนี้ผู้ประกอบการใดสามารถปรับตัวได้ทัน และเลือกนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จะถือเป็นโอกาสอย่างยิ่งในการทำธุรกิจ เช่น บริการถามตอบอาการเจ็บป่วยผ่านโทรศัพท์ ใช้ AI เสริมบริการทางการแพทย์ เป็นต้น ซึ่งในประเทศทั่วโลก ได้ดำเนินการ โดยเฉพาะ จีน เนื่องจากมีปริมาณพลเมืองค่อนข้างมาก สวนทางกับแพทย์ที่มีจำกัด

“คนสูงวัยที่มีกำลังซื้อในไทย ถือเป็นโอกาส เพราะปัจจุบันมีธุรกิจการแพทย์ หรือซัพพลายที่อยู่อาศัยเฉพาะกลุ่ม แทบรองรับไม่เพียงพอ ฉะนั้น ยังมีดีมานด์มหาศาลที่เป็นโอกาส และเป็นช่องว่างในการทำธุรกิจ”
ซึ่ง นพ.บุญมองว่า การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการใช้ชีวิตของกลุ่มคนผู้สูงวัยเป็นสิ่งสำคัญ หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากขณะนี้ไทยกำลังขึ้นแท่นเป็นอันดับ 2 ของเอเชียที่มีประชากรสูงวัยมากที่สุด พบประชากรไทยสัดส่วนประมาณ 20% เป็นคนที่มีอายุเกิน 60 ปี แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มคนดังกล่าวยังมีบทบาทในเชิงการเติบโตของเศรษฐกิจ เนื่องจากมีกำลังซื้อมหาศาล ยกตัวอย่าง เช่นในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี มีเงินสะพัดหมุนเวียน 30% จากกำลังซื้อของคนเหล่านี้ แตกต่างจากคนช่วงวัย 25-50 ปี ที่มักจะก่อหนี้มากกว่า ฉะนั้นถือเป็นโอกาสในการทำธุรกิจเพื่อตอบสนองกลุ่มคนดังกล่าว โดยเฉพาะธุรกิจการแพทย์และกลุ่มที่อยู่อาศัยที่จะตอบโจทย์การใช้ชีวิต หลังจากคาดว่าด้วยจำนวนประชากรสูงวัยที่จะเพิ่มมากขึ้นทั่วโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้า ทำให้การแพทย์จะมีบทบาทมากในการสนับสนุนการใช้ชีวิต และรักษาอาการเจ็บป่วย
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ